บัตรเบ่งสายการบิน ไม่ต้องบินก็มีได้ - Mileage Pro

เพราะชีวิตคือไมล์เดินทาง

Breaking

บัตรเบ่งสายการบิน ไม่ต้องบินก็มีได้



บัตรเบ่งสายการบิน ไม่ต้องบินก็มีได้


หลายๆคนคงจะรู้จัก “บัตรทอง” ของสายการบินในเครือต่างๆ เช่น Star Alliance (Silver, Gold), Skyteam (Elite, Elite Plus), OneWorld (Ruby, Sapphire, Emerald) ถ้าผู้โดยสายที่มีสถานะบัตรสูงๆแล้ว เช่น บัตรทองสตาร์อัลไลแอนซ์ เมื่อทำการบินในชั้นประหยัด (Economy) ในเครือเดียวกัน เค้าสามารถนำบัตรทองไปยื่นเพื่อเช็คอินในช่องของชั้นธุรกิจ (Business Class) ได้ และแน่นอนคิวมันจะไวมาก บางทีรอไม่ถึง 5 นาทีก็เช็คอินเสร็จแล้ว ในขณะที่ถ้าเช็คอินในชั้นประหยัดคุณอาจจะต้องยืนรอเช็คอินเป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมงเลยทีเดียว ผมเป็นคนนึงละที่ไม่ชอบไปยืนรออะไรนานๆ จึงชอบบินกับสายการบินที่มีสถานะอยู่แล้ว เพราะมันสบายกว่ากันเยอะ นอกจากนี้ยังจะได้รับ Priority ของกระเป๋าที่เราทำการเช็คอินด้วย นั้นหมายความว่าเมื่อถึงที่หมายแล้วเราก็จะได้รับกระเป๋าเป็นคนแรกๆอีกด้วย เรียกได้ว่าประหยัดเวลาได้เป็นชั่วโมงเลยทีเดียว

แต่การทำสถานะกับบัตรพวกนี้มันไม่ได้ง่ายเลย เราต้องทำการบินเพื่อที่จะสะสมไมล์ แล้วต้องสะสมไมล์ให้ถึงเกณฑ์ที่เค้าตั้งไว้ ส่วนมากจะอยู่ที่ 40,000 – 50,000 ไมล์ (ไปกลับอเมริกา-สองรอบยังได้ไม่ถึงเลย) และจะบินด้วยตั๋วถูก (ตั๋วโปร) ก็ไม่ได้ (มีเรื่อง Class ตั๋วที่ยกเว้นการได้ไมล์อยู่) กว่าจะได้บัตรทองมาได้เรียกว่าใช้เงินหลักแสนเลยทีเดียว 



สำหรับบทความนี้ผมจะมาเสนอบัตรเบ่งสายการบิน ที่เรียกได้ว่าเกือบเทียบเท่าบัตรทองเลย บัตรพวกนี้ก็มาจากบัตรเครดิตนี่ละครับ เป็นบัตรที่ทางธนาคารออกมาเป็น Co-Brand กับสายการบิน โดยในประเทศไทยเรามีอยู่ทั้งหมด 3 สายการบินดังนี้

1. Air Asia (แอร์เอเซีย)

- บัตรเครดิตแอร์เอเชียธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Air Asia)


ค่าสมัคร/ค่าธรรมเนียมรายปี: ไม่มี (ปีต่อไปฟรี, เมื่อมียอดใช้จ่ายในบัตร 5,000 บาท ต่อรอบปี)
บริการเคาน์เตอร์เช็คอินพิเศษ: มี
บริการขึ้นเครื่องก่อนใครมี
บริการรับกระเป๋าก่อนใครมี
บริการห้องพักรับรอง (เลานจ์): ไม่มี
อื่นๆ: มีคูปองโหลดกระเป๋าฟรี, คูปองเครื่องดื่มฟรีบนเครื่อง, คูปองเลือกที่นั่งฟรี (ฟรีในปีแรก, ปีต่อไปมีเงื่อนไขการใช้จ่าย)
บัตรเสริม: ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนบัตรหลัก, สามารถมีบัตรเสริมได้สูงสุด 8 ใบ ไม่มีค่าใช้จ่าย



แม้ว่าคุณจะไม่ค่อยได้บินกับแอร์เอเซียก็ตาม มีบัตรนี้พกไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะว่าค่าแรกเข้าฟรี, ค่าธรรมเนียมฟรี *เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพียง 5,000 บาทต่อรอบปี เกณฑ์การสมัครบัตรก็ไม่ยากเลย แถมสามารถทำบัตรเสริมได้อีกสูงสุด 8 ใบโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าคุณเป็นครอบครัวที่ใหญ่ สมัครให้ทุกคนมีไว้พกก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย ลองนึกดูว่าถ้าคุณต้องบินในช่วงที่คนเยอะมากๆ การต่อคิวเช็คอินที่ดอนเมืองนั้นคิวยาวล้นออกมาถึงข้างนอกเลย บัตรนี้ช่วยให้คุณประหยัดเวลาไปได้มากเลยทีเดียว (ถ้าอยากได้คูปองต่างๆของปีถัดไป ใช้ตามเงื่อนไขธนาคารเฉพาะบัตรหลักใบเดียว - บัตรเสริมจะได้รับคูปองตามมาทั้งหมด)



2. Bangkok Airways (บางกอกแอร์)

- บัตรเครดิตเคทีซี X บางกอกแอร์เวย์ส (KTC X Signature Bangkok Airways)

ค่าสมัคร/ค่าธรรมเนียมรายปี: 5,000 บาท (ไม่รวม Vat 350 บาท) แต่จะได้รับคะแนนพิเศษ 25,000 คะแนนนำมาแลกฟรี Voucher Starbucks มูลค่า 5,000 บาทได้
บริการเคาน์เตอร์เช็คอินพิเศษ: มี
บริการขึ้นเครื่องก่อนใคร: ไม่มี
บริการรับกระเป๋าก่อนใคร: มี
บริการห้องพักรับรอง (เลานจ์): มี, เลานจ์สายการบิน Blue Ribbon Club 4 ครั้งต่อปี (2 ครั้งต่างประเทศ, 2 ครั้งในประเทศ)
อื่นๆ: รับเพิ่มน้ำหนักกระเป๋าเดินทาง 10 กิโล (รวมไม่เกิน 30 กิโล), สิทธิ์การจองตั๋วโปรแลกคะแนนต่างๆก่อนคนอื่น
บัตรเสริม: ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนบัตรหลัก ยกเว้นเลานจ์สายการบิน, สามารถมีบัตรเสริมได้ฟรี 2 ใบ ใบที่ 3 ขึ้นไปใบละ 500 บาท



สำหรับบัตรเคทีซีเอกซ์ซิกเนเจอร์ บางกอกแอร์เวย์ส มีค่าธรรมเนียมต่อปี 5,350 บาท (รวมภาษีแล้ว) แต่ว่าคุณสามารถแลกคืนเป็นคูปองสตาร์บัคส์ได้ 5,000 บาท ถ้าคุณเป็นคอสตาร์บัคส์อยู่แล้วก็เรียกได้ว่าเสียค่าสมัครบัตรนี้ปีละ 350 บาทก็ถือว่าไม่แพงเลยที่จะถือบัตรนี้ไว้ เพราะแค่เอาไว้เบ่งตอนเช็คอิน, รับ Priority กระเป๋าเดินทาง, รับน้ำหนักเพิ่มเติมฟรีๆ 10 กิโล แค่นี้ก็คุ้มแล้ว และถ้าคุณเดินทางกับครอบครัวบ่อยๆ สมัครบัตรเสริมให้ครอบครัวก็ดีไม่ใช่น้อย ฟรี 2 คนแรก และคนต่อไป คนละ 500 บาทเท่านั้น (รายปีบัตรเสริมจะไม่มี, มีแค่บัตรหลัก)



3. Thai Airways (การบินไทย) 

*สำหรับการบินไทยมีบัตรเครดิตร่วมหลายธนาคาร แต่บัตรที่มีสิทธิพิเศษแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งมีแค่บัตรเดียว*

- บัตรเครดิตซิตี้รอยัลออร์คิดพลัสพรีเฟอร์ (Citi Royal Orchid Plus Preferred)

ค่าสมัคร/ค่าธรรมเนียมรายปี: ปีแรก 5,000 บาท (ไม่รวม Vat 350 บาท), ปีต่อไป 10,000 บาท
บริการเคาน์เตอร์เช็คอินพิเศษ: มี (บัตรหลักเท่านั้น, มีผู้ติดตามได้อีก 4 ท่าน, ไม่จำกัดจำนวนครั้ง, จองล่วงหน้า 3 วัน)
บริการขึ้นเครื่องก่อนใคร: ไม่มี
บริการรับกระเป๋าก่อนใคร: ไม่มี
บริการห้องพักรับรอง (เลานจ์): มี, Royal Silk Lounge ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
อื่นๆ: มีสิทธิการใช้รถลีมูซีนรับส่งจากที่บ้านมาสนามบินสุวรรณภูมิ 2 ครั้ง ต่อปี , มี Fasttrack การเลื่อนสถานะสู่บัตรทอง (*มีเงื่อนไขกำหนด)
บัตรเสริม: ไม่ได้รับสิทธิพิเศษสายการบิน


สำหรับบัตรซิตี้ ROP Preferred นั้นมีค่าธรรมเนียมรายปี แต่จะมีปีแรกที่ลดค่าแรกเข้าเหลือ 5,350 บาท และโปรแรกเข้าที่ได้คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับช่วงสมัคร) แต่ถ้าคุณเดินทางกับการบินไทยระหว่างประเทศ ด้วยชั้นประหยัดบ่อย บัตรนี้ถือว่าเป็นบัตรเบ่งที่ดี เพราะบริการ Meet & Assist ที่ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุณสามารถใช้บริการเช็คอินที่เคาน์เตอร์พิเศษ และเข้า Fast Track ผ่านตม.อีกด้วย (สูงกว่าบัตรทองก็ตรงนี้) และยังพาผู้ติดตามได้อีก 4 ท่าน ถ้าเอาค่าธรรมเนียมมาหักค่ารถลีมูซีนที่ได้รับ 2 ครั้งต่อปี (นั่นหมายความว่าใช้ได้ 4 ครั้งต่อรอบสมาชิกบัตร – ปลายสมัครและต้นปีถัดไป) มูลค่ารถลีมูซีน 4 ครั้งก็ ตกราคาประมาณ 4,000 บาทแล้ว ถ้ามาหักค่าธรรมเนียมรายปีแรกแล้วก็จะเหลือค่าถือบัตร ประมาณ 1,350 บาทเท่านั้น (นี่ยังไม่รวม Benefits อื่นๆ เช่น Fast Track เป็นบัตรทอง ROP) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบัตรที่น่าถือไว้ถ้ามีบินชั้นประหยัดกับการบินไทย

- บัตรอื่นๆที่มีบริการ Meet & Assist เมื่อบินกับการบินไทย 

เช่น บัตรเครดิตธนาคารกสิกรเดอะวิสดอม (The Wisdom BANK),บัตรเครดิต กรุงเทพ อินฟินิท (Bangkok Bank Visa Infinite) แต่มีจำกัดจำนวนครั้งที่เข้าใช้ได้ต่อปี และมีกฎเกณฑ์การสมัครบัตรที่สูง ถ้าจะนำมารวมในหมวดหมู่บัตรเบ่งสายการบินแล้ว ผมยังไม่ให้ผ่านครับ


บทสรุป

*บัตรเสริม:รับสิทธิ์พิเศษเหมือนบัตรหลัก

สำหรับการถือบัตรร่วมสายการบิน เพื่อรับสิทธิ์พิเศษจากสายการบิน ปัจจัยแรกคือค่าธรรมเนียมบัตร ถ้าฟรีค่าธรรมเนียมเลยแนะนำให้ถือไว้ครับ อย่างเช่นบัตรแอร์เอเซีย เพียงใช้จ่ายต่อรอบปีเกิน 5,000 บาทต่อปี ก็ได้ฟรีค่าธรรมเนียมแล้ว ส่วนบัตรของบางกอกแอร์มีค่าธรรมเนียมแพงก็จริง แต่ว่าได้รับคูปองกลับคืนมา เท่ากับค่าสมัครก็เหลือแค่ 350 บาทต่อปี เพียงใช้ไปเข้าเลานจ์ทานอาหารมูลค่าอาหารที่ทานไปก็เกิน 350 บาทแน่นอน ส่วนบัตรซิตี้ ROP Preferred ค่าธรรมเนียมแพงก็จริงแต่ก็ได้รับรถรับส่งบ้าน-สนามบินสุวรรณภูมิฟรี 4 ครั้ง หักออกมาแล้วเหลือค่าธรรมเนียมรายปี 1,350 บาท (เพียงแค่ใช้บริการ Meet & Assist 1 ครั้ง ปกติก็มูลค่าเกิน 1,000 บาทแล้ว) ส่วนปัจจัยที่สองคือบินกับสายการบินนั้นๆ ปีละกี่ครั้ง ยิ่งบินเยอะๆยิ่งคุ้มเพราะใช้สิทธิพิเศษได้ไม่จำกัดครั้ง ส่วนตัวแล้วแค่มีบินกับสายการบินที่ร่วมต่อไปกลับ (2 เที่ยวบิน) ต่อปีก็คุ้มค่าสมาชิกแล้วครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น